ตุรกีเลื่อนกำหนดเปิดใช้งานเอส-400 อ้างโควิด-19 ระบาด

ภาพรถฐานยิงระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 Triumph (SA-21 Growler) ของรัสเซีย ระหว่างการซ้อมสวนสนามวันแห่งชัยชนะที่กรุงมอสโก เดือนเมษายน ปี 2009 โดย Vitaly Kuzmin

ตุรกีประกาศเลื่อนกำหนดเปิดใช้งานระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ที่ตุรกีจัดหาจากรัสเซีย ซึ่งเดิมจะเปิดใช้งานช่วงปลายเดือนเมษายนออกไป อ้างสาเหตุจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตามตุรกียังคงยืนยันจะเปิดใช้งาน S-400 ตามแผนเดิม ตุรกียังย้ำถึงสาเหตุที่ตุรกีต้องจัดหา S-400 จากรัสเซีย ว่าเกิดจากสหรัฐฯไม่ยอมขายระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot ให้

https://www.hurriyetdailynews.com/s-400-activation-delayed-due-to-covid-19-ankara-154379

ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯก็ยังคงขู่คว่ำบาตรตุรกีตามกฎหมาย CAATSA – Countering America’s Adversaries Through Sanctions Act ถ้าตุรกีเปิดใช้งาน S-400

https://sputniknews.com/middleeast/202004211079036733-ankaras-intent-to-deploy-russian-s-400-could-result-in-us-sanctions—state-dept/

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ของรัสเซีย ระบบหนึ่งประกอบด้วยรถบัญชาการ 1 คัน รถเรดาร์ 2 คัน และรถฐานยิง 4 – 8 คัน แต่ละคันมีจรวด 4 ลูก จรวดมีให้เลือกใช้งานหลายรุ่น หลายระยะ รุ่นที่ระยะยิงไกลที่สุดคือรุ่น 40N6 ระยะยิง 380 กิโลเมตร S-400 ระบบหนึ่งราคาประมาณ 500 ล้านเหรียญ ปัจจัยสำคัญที่มีผลกับราคาคือรุ่นของจรวดและจำนวนรถฐานยิง (สำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot ของสหรัฐฯ ราคาระบบละประมาณ 1,000 ล้านเหรียญ)

กฎหมาย CAATSA – Countering America’s Adversaries Through Sanctions Act ของสหรัฐฯเป็นกฎหมายที่ออกโดยสภาคองเกรสเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2017 มีสาระสำคัญคือสหรัฐฯจะคว่ำบาตรประเทศที่จัดหาอาวุธจากรัสเซีย อิหร่าน และเกาหลีเหนือ ที่ผ่านมามีหลายประเทศที่จะจัดหาอาวุธจากรัสเซียถูกสหรัฐฯขู่คว่ำบาตรด้วยกฎหมาย CAATSA เช่นตุรกี อินเดีย อินโดนีเซีย อิรัก ฯลฯ แต่มีเพียงประเทศเดียวที่ถูกคว่ำบาตรจริงคือจีน จากกรณีที่จีนจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 และระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 จากรัสเซีย

สวัสดี

02.05.2020

คลิปรัสเซียทดสอบยิง S-400 ที่สนามทดสอบ Kapustin Yar ในแคว้นอัสตราฮาน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2018

แสดงความคิดเห็น