สมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯจำนวน 3 คนจากทั้งพรรคริพับลิกันและเดโมแครต เสนอร่างกฎหมาย Countering Russia’s Export of Arms Act ให้มีการคว่ำบาตรตุรกีที่จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 จากรัสเซีย ฝ่าฝืนกฎหมาย Countering America’s Adversaries Through Sanctions Act หรือ CAATSA ส.ส. กลุ่มนี้วิจารณ์ตุรกีว่าดำเนินนโยบายสวนทางกับ NATO ให้ความร่วมมือกับรัสเซีย ไม่สนใจคำเตือน เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐฯและ NATO จึงต้องได้รับบทเรียนสั่งสอน จนกว่าตุรกีจะยอมชดใช้ความเสียหายที่ก่อขึ้นตามมาตรการที่กำหนดไว้ในร่างกฎหมายดังกล่าว
https://ahvalnews.com/s-400/us-representatives-introduce-sanctions-against-turkey-over-russia-deal
อย่างไรก็ตามฝั่งรัสเซียมองว่ายังไงร่างกฎหมายดังกล่าวก็ใช้กดดันประธานาธิบดีแอร์โดอันของตุรกีไม่ได้ผล ไม่มีทางที่ตุรกีจะยกเลิกสัญญาจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและตุรกีจากโครงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ถือเป็นผลพลอยได้สำหรับรัสเซีย คุ้มค่าความเสี่ยงที่ขาย S-400 ให้ตุรกีแล้วครับ ประธานาธิบดีทรัมป์ก็เข้าใจประเด็นนี้ดี จึงขอไม่ให้ตุรกีเปิดใช้งาน S-400 ที่ได้รับมอบมาแล้ว รวมถึงไม่จัดหาล็อตที่สองเพิ่ม จะได้มีข้ออ้างไม่ต้องคว่ำบาตรตุรกีตามกฎหมาย CAATSA ฝั่งตุรกีก็ต้องการถ่วงดุล มีความสัมพันธ์กับทั้งสหรัฐฯและรัสเซีย จึงยังไม่เปิดใช้งาน S-400 รวมถึงยังไม่เซ็นสัญญาจัดหา S-400 ล็อตที่สองตามที่สหรัฐฯขอ ยืดเวลาเจรจากับรัสเซียต่อไป อย่างไรก็ตามสภาคองเกรสซึ่งเป็นคนมัดมือชกให้ทรัมป์ออกกฎหมาย CAATSA ตั้งแต่ต้นไม่พอใจที่ทรัมป์พยายามแช่แข็งการบังคับใช้กฎหมายนี้ จึงพยายามออกมาตรการต่างๆมากดดัน ล่าสุดในข่าวนี้ก็คือจะออกกฎหมายใหม่มามัดมือชกทรัมป์อีกรอบนั่นเอง ถ้าสุดท้ายทรัมป์ต้องคว่ำบาตรตุรกีจริง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและตุรกีก็จะยิ่งกู่ไม่กลับ เป็นประโยชน์สำหรับรัสเซียครับ ยกตัวอย่างเรื่องการขายอาวุธถ้าตุรกีโดนคว่ำบาตรด้วยกฎหมาย CAATSA ก็ไม่มีเหตุผลที่ตุรกีจะต้องชะลอการเปิดใช้งาน S-400 รวมถึงจัดหา S-400 ล็อตที่สอง นอกจากนี้รัสเซียอาจได้ขายเครื่องบินขับไล่ Su-35 และ Su-57 ให้ตุรกีพ่วงไปด้วย
สวัสดี
19.07.2020