
กองทัพแห่งชาติลิเบีย (Libyan National Army – LNA) ประสบความสำเร็จในการฟื้นสภาพระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-200 จำนวน 2 ระบบกลับมาใช้งานใหม่ วางกำลังที่เมืองเซอร์เตและเบงกาซี (สื่อบางสำนักบอกว่ามีที่เมืองเซลเทนอีกแห่งหนึ่ง แต่ผมคิดว่าข้อมูลน่าจะคลาดเคลื่อน เพราะเมืองนี้อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ใกล้กรุงตริโปลี ซึ่งเป็นพื้นที่ของฝ่ายรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ Government of National Accord – GNA เป็นไปได้ว่าสื่ออาจสับสนกับบ่อน้ำมันเซลเทน แถวภาคกลางของลิเบียซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองเซอร์เต)
ลิเบียจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-200 จากสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ.1986 สมัยกัดดาฟี ช่วงที่ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯกำลังตึงเครียด เกิดการปะทะกับกองเรือที่ 6 ของสหรัฐฯ
https://www.presstv.com/Detail/2020/07/30/630732/Libya-rebels-S-200-systems-
https://www.almasdarnews.com/article/libyan-army-restores-2-soviet-era-air-defense-systems/
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-200 หรือชื่อ NATO คือ SA-5 Gammon เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกล ระยะยิงไกลสุด 300 กิโลเมตร เข้าสู่สายการผลิตช่วงยุค 60 โซเวียตออกแบบมาใช้กับเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯเช่น B-52 Stratofortress เป็นหลัก จรวดมีขนาดใหญ่เทอะทะขาดความคล่องตัว ไม่เหมาะจะใช้กับเครื่องบินขับไล่ เป็นสาเหตุที่ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หน่วยป้องกันภัยทางอากาศของซีเรียใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศรุ่นนี้กับอิสราเอลไม่ได้ผล เคยยิงเครื่องบินขับไล่ F-16I ตกเพียงครั้งเดียว แถมคราวหนึ่งยังมีเครื่องบินของรัสเซียถูกลูกหลงด้วย สำหรับกองทัพแห่งชาติลิเบียที่ฟื้นสภาพ S-200 กลับมา (ไม่ว่าจะทำด้วยตัวเองหรือรัสเซียช่วยผ่านทหารรับจ้างวากเนอร์ก็ตาม) คงมีจุดประสงค์เพื่อใช้รับมือการโจมตีทางอากาศจากโดรนของตุรกีเป็นหลัก แม้โดรนจะมีขนาดเล็กกว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดมาก แต่ก็มีความคล่องตัวน้อยกว่าเครื่องบินขับไล่เช่นกัน น่าจะมีโอกาสใช้ได้ผลมากกว่ากับเครื่องบินขับไล่อิสราเอล ต้องติดตามต่อไป
สวัสดี
30.07.2020