
(Alf van Beem/ Wikimedia Commons/ Public Domain)
ในช่วงต้นของมหาสงครามรักชาติ (The Great Patriotic War) กองทัพโซเวียตประสบความสูญเสียอย่างหนักจากการโจมตีทางอากาศของเยอรมัน จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาปืนต่อสู้อากาศยานอัตตาจรขึ้นเพื่อติดตามไปคุ้มกันกำลังพลในแนวหน้า ช่วงแรกๆโซเวียตได้พัฒนาปืนต่อสู้อากาศยานอัตตาจรที่ใช้แคร่รถบรรทุก แม้จะมีความคล่องตัวสูง แต่รถบรรทุกไม่มีเกราะป้องกันตัว ไม่เหมาะสำหรับใช้ในแนวหน้า ภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้แคร่รถสายพานแทน โดยใช้ตัวรถของรถถังเบา T-70 มาดัดแปลงติดตั้งปืนกลหนัก DShK (ดาชาก้า) ขนาด 12.7 มิลลิเมตรแบบลำกล้องคู่ เรียกว่าปืนต่อสู้อากาศยานอัตตาจร T-90 รถต้นแบบถูกผลิตออกมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1942 แต่ประสิทธิภาพยังไม่น่าพอใจ ต่อมาในปี ค.ศ.1943 โซเวียตจึงเปลี่ยนไปใช้ตัวรถปืนใหญ่อัตตาจร SU-76M มาดัดแปลงติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน M1939 (61-K) ขนาด 37 มิลลิเมตรแทน ปืนต่อสู้อากาศยานอัตตาจร ZSU-37 จึงถือกำเนิดขึ้น เข้าสู่สายการผลิตในปี ค.ศ.1945 เป็นปืนต่อสู้อากาศยานอัตตาจรแบบสายพานรุ่นแรกของสหภาพโซเวียต
ZSU-37 มีน้ำหนักประมาณ 11.5 ตัน มีขนาดยาว 5.25 เมตร กว้าง 2.75 เมตร สูง 2.18 เมตร ติดอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตร บนแคร่รถสายพานดัดแปลงจากตัวรถปืนใหญ่อัตตาจร SU-76M ระบบขับเคลื่อนใช้เครื่องยนตืเบนซิน GAZ-203 ขนาด 160 แรงม้า มีความเร็วสูงสุด 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ 360 กิโลเมตร ใช้พลประจำรถ 6 นาย
เนื่องจาก ZSU-37 พึ่งจะเข้าสู่สายการผลิตในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปใกล้สิ้นสุดลงเต็มที ประกอบกับในช่วงปลายสงคราม แทบไม่มีภัยคุกคามจากกองทัพอากาศเยอรมันเลย ZSU-37 จึงไม่เคยถูกใช้ในสนามรบจริง ต่อมาโซเวียตพบว่าปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตรมีอัตราการยิงต่ำเกินไป สายการผลิต ZSU-37 จึงถูกปิดไปในปี ค.ศ.1948 หลังผลิตออกมาเพียง 75 คัน
สวัสดี
01.08.2021
ขอเกอร์กี้ ชูคอฟ ตอนที่ 3 หน่อยครับ