ขีดความสามารถรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน Type-87 ของญี่ปุ่น

ภาพรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน Type-87 ของญี่ปุ่น
(Megapixie/ Wikimedia Commons/ Public Domain)

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง สหรัฐฯได้มอบรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน 6×6 รุ่น M8 Greyhound ให้กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น (JSDF) ใช้งาน แต่เนื่องจากถนนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นขณะนั้นไม่ได้ลาดยาง และได้รับการบำรุงรักษาไม่ดีพอ ไม่เหมาะสำหรับยานเกราะแบบล้อยาง ญี่ปุ่นจึงไม่ได้ใช้งาน M8 Greyhound มากนัก จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงต้นยุค 80 โครงสร้างพื้นฐานของญี่ปุ่นได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ญี่ปุ่นจึงเริ่มใช้งานยานเกราะล้อยางมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน 6×6 รุ่น Type-87 หรือ Burakkuai (ตาดำ)

รถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน Type-87 พัฒนาโดยบริษัท Komatsu เข้าประจำการเมื่อปี ค.ศ.1987 มีน้ำหนัก 15 ตัน มีขนาดยาว 5.99 เมตร กว้าง 2.48 เมตร สูง 2.80 เมตร มีพลประจำรถ 5 นาย ได้แก่ ผบ.รถ พลขับ พลวิทยุ พลยิง และพลสังเกตการณ์ ติดอาวุธปืนใหญ่อัตโนมัติ Oerlikon ขนาด 25 มิลลิเมตร และปืนกล Type-74 ขนาด 7.62 มิลลิเมตร ระบบขับเคลื่อนใช้เครื่องยนต์ดีเซล Isuzu 10PBI ขนาด 305 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ 500 กิโลเมตร ข้อด้อยของ Type-87 คือไม่สามารถเคลื่อนที่ในน้ำได้ จึงมีความคล่องตัวต่ำกว่ารถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวนของประเทศอื่นๆเช่น BRDM-2 ของสหภาพโซเวียตและ Spähpanzer Luchs ของเยอรมนี

ปัจจุบันกองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น (JGSDF) มีรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน Type-87 ประจำการอยู่ 111 คัน ไม่มีการส่งออกให้ลูกค้าต่างประเทศตามนโยบายของญี่ปุ่น

สวัสดี

13.09.2021

คลิปรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน Type-87 ของญี่ปุ่น

แสดงความคิดเห็น